11 ไอเดียครัวไทย ข้อควรรู้เรื่องต่อเติมครัวไทย

Chatsittichai Civil Website บริษัท ฉัตรสิทธิ์ติชัย การโยธา จำกัด :  รับต่อเติมบ้าน รับต่อเติมห้องครัว รับสร้างบ้านรังสิต ต่อเติมครัว สร้างบ้านรังสิต-นครนายก รับต่อเติมครัว ทาวน์โฮม รับเหมาต่อเติมนครนายก  รับเหมาก่อสร้างกรุงเทพและปริมณฑล

 

11 ข้อควรรู้ และไอเดียดีๆ สำหรับ แบบครัวไทย


แบบครัวไทย ที่เหมาะกับบ้านของเรา มีแบบไหนบ้าง แล้วครัวนอกบ้านแบบดั้งเดิม จะสามารถตกแต่งให้ดูดีมีสไตล์ได้หรือเปล่า my home มีข้อควรรู้มาฝากกันค่ะ


หากเอ่ยถึงในเรื่องของอาหารการกินที่บ่งบอกถึงวัฒนธรรมความเป็นไทย แน่นอนว่า แบบครัวไทย ย่อมแตกต่างจากครัวฝรั่ง  เพราะอาหารไทยเป็นอาหารที่ค่อนข้างสมบุกสมบันในการทำ ไม่ว่าจะเป็นการโขลก ทุบ ตำ ย่าง ต้ม ผัด แกง ทอด หอมอร่อยอบอวนทั้งควันทั้งกลิ่นจนกะพริบตาแทบไม่ทัน ทำให้ตำแหน่งของครัวไทยโบราณจึงมักอยู่แยกจากตัวบ้าน วันนี้เราจึงมี 11 ไอเดียการตกแต่งครัวไทยทั้งในบ้านและนอกบ้านมาให้ปรับใช้กันค่ะ



1. ครัวไทยที่มีช่องลมขนาดใหญ่ จะช่วยให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก อาจเลือกใช้แผงระแนงไม้เทียมแทนผนัง บางทีอาจเลือกทำผนังทึบเฉพาะช่วงล่าง ส่วนด้านบนปล่อยโล่งหรือทำเป็นแผงระแนง เพื่อความปลอดภัยและเป็นส่วนตัว

2. เพิ่มช่องเปิดบริเวณผนัง ด้วยการเลือกใช้หน้าต่างบานกระทุ้ง บานเปิด หรือบานเฟี้ยมที่สามารถเปิดปิดได้ เพื่อเปิดระบายควันออกเมื่อมีการปรุงอาหาร แต่ก็สามารถปิดได้เพื่อป้องกันสัตว์เข้ามากินอาหารในเวลากลางคืนด้วยเช่นกัน

3. ควรวางเตาและซิงค์ล้างจานไว้ในตำแหน่งใกล้ผนังที่มีช่องหน้าต่าง ช่องประตู นอกจากกลิ่นอาหารแล้ว อากาศที่ถ่ายเทยังช่วยให้ห้องครัวลดกลิ่นอับชื้น

4. ควรมีเครื่องดูดควันติดตั้งไว้ เพราะเครื่องดูดควันจะสามารถควบคุมกลิ่นควันให้ออกนอกห้องได้อย่างถูกทาง ควรเลือกเครื่องดูดควันที่เหมาะสมกับครัวไทยนั่นคือมีกำลังดูดสูงที่สามารถเก็บทุกกลิ่นฉุนของอาหารไทยได้

5. พื้นที่เตรียมอาหารเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้คุณสามารถโขก สับ ตำ ได้อย่างเต็มไม้ เต็มมือ หากใช้เคาน์เตอร์เป็นส่วนเตรียมอาหาร แนะนำให้เลือกเป็นเคาน์เตอร์ครัวปูนซึ่งจะรองรับน้ำหนักได้ดีกว่างานไม้หรืองานอื่น ๆ


6. ส่วนท็อปเคาน์เตอร์ควรเลือกวัสดุที่สามารถทำความสะอาดได้ง่าย เช่น หินแกรนิต สแตนเลส วัสดุเหล่านี้จะช่วยให้คราบสกปรกไม่ติดฝังแน่น และเช็ดออกได้ง่าย

7. ครัวไทยมักจะมีเครื่องปรุงและอุปกรณ์หลากหลายอย่าง จึงควรมีฟังก์ชันการใช้งานอื่นๆเสริม เช่น ชั้นเก็บจานชาม ครก กระทะ หรือจะให้ดีต้องมีชั้นด้านบนบิวท์อินติดผนังก็จะช่วยให้การต่อเติมครัวหลังบ้านมีฟังก์ชันการใช้งานที่หลากหลายขึ้น

8. ทิศที่เหมาะสมที่สุดสำหรับตำแหน่งห้องครัวคือ ทิศตะวันตก เนื่องด้วยเป็นทิศที่มีแสงแดดสาดส่องในช่วงบ่าย แดดที่ร้อนช่วยฆ่าเชื้อโรคได้เป็นอย่างดี ช่วยลดเชื้อรา ลดกลิ่นอับชื้น

9. ส่วนทิศที่ไม่เหมาะสมคือทิศใต้และทิศเหนือ เพราะทั้ง 2 ทิศนี้เป็นทิศที่มีลมโกรก หากไว้ในตำแหน่งนี้อาจเกิดกลิ่นอาหารจะโชยเข้าสู่ภายในบ้านและกระจายไปยังห้องต่างๆ แถมทิศเหนือยังเป็นทิศที่แสงแดดเข้าถึงน้อย ห้องที่ไม่โดนแสงจะมีผลต่อกลิ่นอับชื้น

10. พื้นของครัวไทย ควรเลือกเป็นรูปแบบของพื้นที่มีผิวสัมผัสหยาบป้องกันการลื่น แต่ไม่หยาบจนเกินไปเพราะจะทำให้ทำความสะอาดคราบต่างๆได้ยาก หากเป็นกระเบื้องควรเลือกรุ่นที่สามารถปูได้ชิด ลดปัญหาคราบสกปรกที่สะสมตามร่องยาแนว

11. ไอเดียจัดเก็บวัตถุดิบในครัวเช่น ปลาแห้ง พืชผักสมุนไพร กระเทียม หอมแดง ด้วยการแขวนไว้ตามผนัง เพื่ออาศัยควันไฟที่เกิดจากการหุงต้มรมรักษาสภาพและป้องกันมอดแมลง รวมถึงช่วยถนอมอาหารไปในตัว



แหล่งข้อมูลจาก baanlaesuan